รายชื่อพายุ ของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559

ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ต่างทำหน้าที่กำหนดชื่อของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งเป็นผลให้พายุหมุนเขตร้อนอาจมีสองชื่อ[59] RSMC โตเกียวโดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น — ศูนย์ไต้ฝุ่นจะกำหนดชื่อสากลให้กับพายุหมุนเขตร้อนในนามของคณะกรรมการไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ซึ่งพวกเขาจะประมาณความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาทีของพายุหมุนเขตร้อน หากมีความเร็วลมถึง 65 กม./ชม. (40 mph) พายุหมุนเขตร้อนดังกล่าวจะได้รับชื่อ[60] ส่วน PAGASA จะกำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเคลื่อนตัวเข้าหรือก่อตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนภายในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ มีขอบเขตอยู่ระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 135°ดะวันออก ถึง 115°ตะวันออก และระหว่างเส้นขนานที่ 5°เหนือ ถึง 25°เหนือ แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนลูกนั้นจะได้รับชื่อสากลแล้วก็ตาม[59] โดยชื่อของพายุหมุนเขตร้อนที่มีนัยสำคัญจะถูกถอนโดยทั้ง PAGASA และ คณะกรรมการไต้ฝุ่น[60] ในระหว่างฤดูกาล หากรายชื่อของภูมิภาคฟิลิปปินส์ที่เตรียมไว้ถูกใช้จนหมด PAGASA จะใช้ชื่อจากรายชื่อเพิ่มเติม ซึ่งถูกกำหนดขึ้นไว้ในแต่ละฤดูกาลมาใช้กับพายุหมุนเขตร้อนแทนชื่อที่หมดไป

ชื่อสากล

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะเป็นหน่วยงานที่กำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน เมื่อระบบได้รับการประมาณว่า มีความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาที ที่ 65 กม./ชม. (40 mph)[61] โดย JMA จะคัดเลือกชื่อจากรายการ 140 ชื่อ ซึ่งได้รับการปรับปรุงโดย 14 ประเทศสมาชิกและดินแดนของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)/WMO คณะกรรมการไต้ฝุ่น[62] โดยรายชื่อด้านล่างจะเป็นรายชื่อ พร้อมเลขรหัสพายุ ชื่อที่ใช้เป็นชื่อแรกของฤดูกาล 2559 คือ เนพาร์ตัก จากชุดที่ 4 และชื่อที่ใช้เป็นชื่อสุดท้ายคือ นกเต็น จากชุดที่ 5 รวมมีชื่อจากชุดรายชื่อถูกใช้ 26 ชื่อ

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนสากลของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกในฤดูกาล 2559
ชุดรหัสพายุชื่อพายุชุดรหัสพายุชื่อพายุชุดรหัสพายุชื่อพายุชุดรหัสพายุชื่อพายุ
ชุดที่ 41601เนพาร์ตัก
(Nepartak)
ชุดที่ 41608เตี้ยนหมู่
(Dianmu)
ชุดที่ 41615ราอี
(Rai)
ชุดที่ 51622ไหหม่า
(Haima)
1602ลูปิต
(Lupit)
1609มินดุลเล
(Mindulle)
1616มาลากัส
(Malakas)
1623เมอารี
(Meari)
1603มีรีแน
(Mirinae)
1610ไลออนร็อก
(Lionrock)
1617เมกี
(Megi)
1624หมาอ๊อน
(Ma-on)
1604นิดา
(Nida)
1611คมปาซุ
(Kompasu)
1618ชบา
(Chaba)
1625โทกาเงะ
(Tokage)
1605โอไมส์
(Omais)
1612น้ำเทิน
(Namtheun)
1619แอรี
(Aere)
1626นกเต็น
(Nock-ten)
1606โกนเซิน
(Conson)
1613หมาเหล่า
(Malou)
1620ซงด่า
(Songda)
1607จันทู
(Chanthu)
1614เมอรันตี
(Meranti)
ชุดที่ 51621ซาเระกา
(Sarika)

ฟิลิปปินส์

สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) จะใช้ชื่อของตัวเองหากมีพายุใดก่อตัวหรือเคลื่อนผ่านพื้นที่รับผิดชอบของตน[63][64] โดยชื่อที่ใช้ถูกนำมาจากรายชื่อ เป็นรายชื่อเดียวกับที่ถูกใช้ไปในฤดูกาล ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555) และมีกำหนดจะถูกนำมาใช้อีกครั้งในฤดูกาล ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) ด้วย[63] ซึ่งรายชื่อทั้งหมดเหมือนเดิมกับครั้งก่อน เว้น เปปีโต (Pepito) ที่ถูกนำมาแทน ปาโบล (Pablo) ที่ถูกถอนไป[63] ส่วนชื่อที่ไม่ถูกใช้จะทำเป็น อักษรสีเทา

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนท้องถิ่นฟิลิปปินส์ในฤดูกาล 2559
อัมโบ (Ambo)เฟร์ดี (Ferdie) (1614)กาเรน (Karen) (1621)เปปีโต (Pepito) (ไม่ถูกใช้)ยูลิสซีส (Ulysses) (ไม่ถูกใช้)
บุตโชย (Butchoy) (1601)เฮเนร์ (Gener) (1616)ลาวิน (Lawin) (1622)กินตา (Quinta) (ไม่ถูกใช้)บิกกี (Vicky) (ไม่ถูกใช้)
การีนา (Carina) (1604)เฮเลน (Helen) (1617)มาร์เซ (Marce) (1625)รอลลี (Rolly) (ไม่ถูกใช้)วอร์เรน (Warren) (ไม่ถูกใช้)
ดินโด (Dindo) (1610)อินเม (Igme) (1618)นีนา (Nina) (1626)โชนี (Siony) (ไม่ถูกใช้)โยโยง (Yoyong) (ไม่ถูกใช้)
เอนเตง (Enteng) (1612)ฮูเลียน (Julian) (1619)โอเฟล (Ofel) (ไม่ถูกใช้)โตนโย (Tonyo) (ไม่ถูกใช้)โซซีโม (Zosimo) (ไม่ถูกใช้)
รายชื่อเพิ่มเติม
อาลักดัน (Alakdan) (ไม่ถูกใช้)กลารา (Clara) (ไม่ถูกใช้)เอสโตง (Estong) (ไม่ถูกใช้)การ์โด (Gardo) (ไม่ถูกใช้)อิสมาเอล (Ismael) (ไม่ถูกใช้)
บัลโด (Baldo) (ไม่ถูกใช้)เดนซีโย (Dencio) (ไม่ถูกใช้)เฟลีเป (Felipe) (ไม่ถูกใช้)เฮลิง (Heling) (ไม่ถูกใช้)ฮูลีโย (Julio) (ไม่ถูกใช้)

การถอนชื่อ

ภายหลังจากฤดูกาล คณะกรรมการไต้ฝุ่นได้ถอนชื่อ เมอรันตี, ซาเระกา, ไหหม่า และ นกเต็น ออกจากชุดรายชื่อ และต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ได้มีการคัดเลือกชื่อ ญาโตะฮ์, ตรอเสะ, มู่หลัน และ หีนหนามหน่อ มาทดแทนชื่อดังกล่าวที่ถูกถอนไปตามลำดับ[65] ส่วนรายชื่อของฟิลิปปินส์ ภายหลังจากฤดูกาล PAGASA ได้ถอนชื่อ กาเรน (Karen), ลาวิน (Lawin) และ นีนา (Nina) ออกจากชุดรายชื่อ เนื่องจากสร้างความเสียหายรวมมากกว่า 1 พันล้านเปโซฟิลิปปินส์ โดยเลือกชื่อ กริสตีน (Kristine), เลโอน (Leon) และ นีกา (Nika) ขึ้นมาแทนที่ชื่อที่ถูกถอนไปตามลำดับ[66]

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2546 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2547 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 http://199.9.2.143/tcdat/tc16/WPAC/05W.MIRINAE/tra... http://www.ctvnews.ca/world/death-toll-rises-to-15... http://www.globaltimes.cn/content/1013460.shtml http://www.mca.gov.cn/article/yw/jzjz/zqkb/zqhz/20... http://www.mca.gov.cn/article/yw/jzjz/zqkb/zqhz/20... http://www.mca.gov.cn/article/yw/jzjz/zqkb/zqhz/20... http://tcdata.typhoon.gov.cn/en/ http://tcrr.typhoon.gov.cn/EN/article/downloadArti... http://www.nmc.cn/publish/typhoon/warning.html http://www.australiasevereweather.com/cyclones/200...